จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

ดอกไม้นานาชาติ

ความหลากหลายทางชีวภาพ
(Biological diversity)
ความหลากหลายทางชีวภาพ
หลักฐานของสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดเป็นฟอสซิลของจุลินทรีย์โบราณ อายุ 3.5 พันล้านปี ในทวีป
ออสเตรเลีย มีรูปร่างคล้ายแบคทีเรียสีฟ้าเขียวในปัจจุบัน ซึ่งมีความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสง ในการ
เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นอาหารและคายก๊าซออกซิเจนออกมา จุลินทรีย์โบราณนี้เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์
เดียวคือ เซลล์โพรคาริโอต ไม่มีนิวเคลียส และอวัยวะพิเศษอื่นใด ตัวอย่างของเซลล์โพรคาริโอตได้แก่ แบคทีเรีย
ชนิดต่างๆ หนึ่งพันล้านปีต่อมา เซลล์โพรคาริโอตบางชนิดได้วิวัฒนาการให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต โดย
เสริมสิ่งป้องกันตัว และระบบจัดหาพลังงานที่ดีกว่าจนกลายเป็นเซลล์ยูคาริโอต ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีความ
สลับซับซ้อนมากกว่า ในเวลาต่อมา เซลล์ยูคาริโอตได้กลายเป็นบรรพบุรุษของ พืช เห็ดรา และสัตว์ซึ่งเป็น
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ อุบัติขึ้นประมาณหนึ่งพันห้าร้อยล้านปีที่แล้ว ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมด
บนโลกนี้มีจำนวนระหว่าง 2 – 30 ล้านสปีชีส์ โดยที่บันทึกอย่างเป็นทางการแล้ว 1.4 ล้านสปีชีส์ ออกเป็นกลุ่ม
ใหญ่ๆ 5 อาณาจักรดังนี้
1. อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom Monera) ประกอบด้วยจุลินทรีย์พวกโพรคาริโอต ซึ่งมีเซลล์แบบโพรคาริ
โอติกเซลล์ (Prokaryotic cell) คือ ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ส่วนใหญ่ได้อาหารโดยการดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วเข้ามา
ในเซลล์มีบางชนิดที่สังเคราะห์แสงได้ส่วนใหญ่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง ใน
กลุ่มนี้ ได้แก่แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue green algae) มีสมาชิกประมาณ 6,000 สปีชีส์ ซึ่งแบ่ง
ตามกระบวนการทางชีวภาพเคมีได้ 3 จำพวกคือ
ออโตทรอฟ (Autotroph) หมายถึง พวกที่สร้างอาหารได้ด้วยตนเอง โดยการเปลี่ยนสารอนินทรีย์เป็น
สารอินทรีย์ เช่นการสังเคราะห์ด้วยแสง
เฮเทโรทรอฟ (Heterotroph) หมายถึง พวกที่บริโภคสารอินทรีย์ที่สร้างขึ้นจากสิ่งมีชีวิตอื่น
มิโซทรอฟ (Mixotroph) หมายถึง พวกที่บริโภคทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์
2. อาณาจักรโพรติสตา (Kingdom Protista) เป็นอาณาจักรของยูคาริโอตเซลเดี่ยว มีสมาชิกประมาณ 60,000
สปีชีส์เซลล์ถูกพัฒนาให้มีนิวเคลียสห่อหุ้มโครโมโซม และสร้างอวัยวะซึ่งทำหน้าที่เฉพาะทางได้แก่ คลอโรพ
ลาสต์มีหน้าที่สังเคราะห์อาหารด้วยแสง โดยการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นอาหารและคายก๊าซ
ออกซิเจน ไมโทคอนเดรียน มีหน้าที่นำก๊าซออกซิเจนมาเผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงานและคายก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งวิวัฒนาการในยุคต่อมาได้แยกเป็น พืช เห็ดรา และสัตว์สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพ
ติสตาได้แก่ สาหร่าย โปรตัวซัว แพลงตอน
3. อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) มีสมาชิกประมาณ 250,000 สปีชีส์ ซึ่งมีเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกออโต
ทรอฟ ซึ่งใช้คลอโรฟิลล์สีเขียวเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นอาหารและคายก๊าซออกซิเจน พืชมีบทบาท
สำคัญต่อวัฎจักรน้ำและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของบรรยากาศ นอกจากนั้นยังมีบทบาทที่สำคัญในการ
เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของดินด้วยการดูดซับธาตุอาหาร อันได้แก่ คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
และกำมะถัน พืชจึงเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตบนโลก
4. อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi) มีสมาชิกประมาณ 70,000 สปีชีส์ มีลักษณะคล้ายพืช แต่เป็นสิ่งมีชีวิต
จำพวกเฮโรทรอฟซึ่งบริโภคสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตอื่นสร้างไว้เราจะเห็นได้ว่า เห็ดมักขึ้นอยู่ตามซากต้นไม้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น