จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

ดาราจัก

ดาราจักร

เอกภพประกอบด้วยกลุ่มแก๊สและดาวฤกษ์จำนวนมากมายที่เกาะกลุ่มกันเป็นกาแล็กซีหรือดาราจักร (galaxy) ระบบของดาวฤกษ์มากมายที่รวมเข้าด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วงมีนับแสนล้านดวงและนักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกว่าดาราจักรมีจำนวนนับแสนล้านดาราจักรเช่นกัน มีเพียงกาแล็กซีเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด 2-3 กาแล็กซีเท่านั้นที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น ดาราจักรแอนโดรเมดา บางครั้งอาจมองเห็นการระเบิดของดวงดาวที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา ในดาราจักรที่ห่างไกล เพราะว่าเราไม่สามารถมองเห็นดวงดาวแต่ละดวงได้ นักดาราศาสตร์จึงเพียงแต่สังเกตเห็นสมบัติของดวงดาว เช่น รูปร่าง กลุ่มของดวงดาว



แสดงดาราจักรแบบกังหัน

นักดาราศาสตร์ได้แบ่งดาราจักรโดยใช้ลักษณะรูปร่างออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. ดาราจักรแบบก้นหอยหรือกังหัน (spiral galaxies:S) ใช้อักษร S เขียนแทนดาราจักรพวกนี้ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย a, b, c และ d โดยยึดความหนาแน่นของการขดของแกนกังหัน ความชัดเจนของการเห็นแกนกังหัน และขนาดของนิวเคลียสในการจัดประเภท ดาราจักรแบบกังหันมีหลายดาราจักร เช่น ดาราจักรแอนโดรเมดา (M31) เป็นดาราจักรแบบกังหัน อยู่ห่างโลก 2.4 ล้านปีแสง สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยจะเห็นเป็นจุดจางๆ ในกลุ่มดาวแอนโดรเมดา (Andromeda) ดาราจักรทางช้างเผือกหรือกาแล็กซีของเรา ซึ่งเป็นดาราจักรที่ระบบสุริยะของเราอยู่



แสดงดาราจักรแบบก้นหอย

2. ดาราจักรแบบกังหันมีแกน (bar-spiral galaxies: Bs) มีลักษณะโดยทั่วๆ ไปแบนคล้ายจานนูน ตรงกลางทั้งสองด้าน หรือเหมือนไข่ดาวสองฟองประกบกัน มีแขนเป็นวงโค้งแผ่ออกมาจากใจกลางดาราจักร คล้ายดาราจักรแบบกังหัน แต่จะมีแถบสว่างหรือมืดคล้ายคานพาดในบริเวณใจกลางของดาราจักรอยู่ด้วย



แสดงดาราจักรแบบกังหันมีแกน

3. ดาราจักรรูปไข่ (eclipse galaxies: E) เป็นดาราจักรที่มีลักษณะความสมดุลทางรูปร่างสูง มีทั้งชนิดที่แบนมาก แบนน้อย กลมมาก หรือค่อนไปทางรี บางชนิดก็มีรูปร่างลักษณะเกือบเป็นทรงกลม ตัวอย่างของดาราจักรรูปกลมรีคือ ดาราจักรขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ๆ กับดาราจักรแอนโดรเมดาสองดาราจักร คือ M32 และ M110



แสดงดาราจักรรูปไข่

4. ดาราจักรแบบไร้รูปร่าง (irregular galaxies) เป็นดาราจักรชนิดไม่มีรูปร่างที่แน่นอน มีลักษณะไม่เป็นระเบียบ ไม่มีรูปร่างเป็นรูปทรงแบบใดเลย จะส่องแสงออกมาเพียงจางๆ มีขนาดเล็ก อาจเรียกว่าเป็นดาราจักรแคระ (dwarf galaxy) บางดาราจักรมีขนาดเล็กมากจนดูคล้ายกระจุกดาว เช่น ดาราจักรแมกเจลแลนใหญ่ (large magellanic clouds galaxy) และดาราจักรแมกเจลแลนเล็ก (small magellanic clouds galaxy)


แสดงดาราจักรแบบไร้รูปร่าง

ดาราจักรทางช้างเผือก
ดาราจักรทางช้างเผือก (The milky way galaxy) เป็นดาราจักรที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง ความหนาประมาณ 10,000 ปีแสง เป็นอาณาจักรของดวงดาวประมาณ 1 แสนล้าน ดวง มีทั้งดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ เนบิวลา และกระจุกดาวดาราจักรทางช้างเผือกมีบริวารเล็กๆ 2 แห่ง มองเห็น ได้ด้วยตาเปล่าในท้องฟ้าซีกใต้ คล้ายเมฆที่ส่องสว่างเรืองๆ เป็นดาราจักรไม่มีรูปร่างขนาดเล็ก ห่างจากดาราจักรทางช้างเผือกประมาณ 162,500 ปีแสง ได้แก่ ดาราจักรแมกเจลแลนใหญ่และดาราจักรแมกเจลแลนเล็ก



แสดงดาราจักรทางช้างเผือก

การสังเกตทางช้างเผือก
ในคืนที่ท้องฟ้าแจ่มใส เราจะมองเห็นแถบฝ้า สีขาวคล้ายเมฆพาดยาวข้ามขอบฟ้า คนโบราณเรียกแถบฝ้าสว่างนี้ว่า ทางช้างเผือก หรือ ทางน้ำนม ที่เรียกเช่นนี้เป็นเพราะคนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็น โอรสของสวรรค์อวตารลงมาเกิดเป็นมนุษย์ และมีช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมี จึงมีความเชื่อว่ามีทางช้างเผือกอยู่บนสวรรค์ แถบทางช้างเผือกที่ปรากฏนั้นเป็นแถบดาวที่เกิดจากการที่มีผู้สังเกตมองเข้าไปใจกลางดาราจักรที่มีดาวอยู่กันอย่างหนาแน่น หากหันออกมาด้านอื่นๆ จะเห็นดาวปรากฏเป็นดวงๆ ได้ชัดเจน

ตำแหน่งของระบบสุริยะในดาราจักร
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่อยู่ในดาราจักร ทางช้างเผือก (The milky way) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นดาวฤกษ์มากมาย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 แสนปีแสง ระบบสุริยะอยู่ห่างจากศูนย์กลางราว 32,600 ปีแสง ดวงอาทิตย์และบริวารโคจรครบรอบดาราจักรในเวลา 225 ล้านปี



แสดงตำแหน่งของระบบสุริยะในดาราจักรทางช้างเผือก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น